ประวัติส่วนตัว

(รถยนต์ในฝัน)



 นาย วิทวัฒน์ สังขประดิษฐ  ชื่อเล่น (บอล)
139หมู่3 ต.บางเขียด อ.สิหนคร จ.สงขลา 90330
ทำงานที่  โรงแรมกรีนเวิลด์
แผนก บาร์ห้องอาหาร
เบอร์โทร 089-7392467
สีที่ชอบ สีแดง
เพื่อนสนิทชื่อ นายคมวิทย์  เอียดชุม
ยามว่าง ดูหนัง ฟังเพลง
อนาคต อยากเป็นแข่งรถ
(อาจารย์ธภัทร ชัยชูโชค  อาจารย์ปาล์ม )



คาถาเงินล้าน

ตั้ง นะโม ๓ จบ



นาสังสิโม พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน)
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
มิเตพาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง
วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ
มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)
สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
เพ็ง เพ็ง พา พา หา หา ฤา ฤา




(บูชา 30 จบ ตัวคาถาต้องว่าทั้งหมด)
พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี





กระบวนการโลหะผง
กนกวรรณ แสงเกียรติยุทธ

    นอกเหนือจากการขึ้นรูปโลหะ ด้วยการหล่อ การขึ้นรูปร้อน และการขึ้นรูปเย็นแล้ว กระบวนการโลหะผง ก็เป็นอีกกระบวนการหนึ่ง ที่ใช้ขึ้นรูปโลหะจากผงละเอียด สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็น 4 ขั้น โดยเริ่มจากการผลิตโลหะผง ซึ่งมีกระบวนการหลายแบบ วิธีที่ทำกันทั่วๆ ไปสำหรับโลหะที่มีความแข็งสูง จะใช้การบด ซึ่งต้องอาศัยเทคนิคเข้ามาช่วย เพราะของแข็งจะถูกบดได้ก็ต้องมีของแข็งกว่าเป็นตัวบด โดยทั่วไป จึงมักใช้ตัวของมัน บดกันเองจนละเอียด ในกรณีของโลหะที่มีเนื้ออ่อน การบดในลักษณะนี้ทำได้ยาก เนื่องจากผงโลหะมีความเหนียว จึงแตกออกจากกันยาก ดังนั้นจึงใช้วิธีหลอมให้ละลาย แล้วพ่นเป็นฝอย นอกจากนี้การผลิตผงโลหะ อีกวิธีหนึ่ง สามารถทำได้โดยเผาโลหะ ให้กลายเป็นไอ แล้วเกิดการกลั่นตัวเป็นโลหะผง กระบวนการนี้ใช้พลังงานสูง ค่าใช้จ่ายจึงค่อนข้างสูงตามไปด้วย
    เมื่อเตรียมผงโลหะได้แล้ว ในขั้นตอนที่สอง เป็นการผสมผงโลหะหลัก และโลหะที่เป็นตัวประสานให้เข้ากัน ซึ่งสามารถผสมได้ ทั้งในสภาพแห้งและเปียก เช่น ในการผลิตมีดกลึง ที่ทำด้วยโลหะทังสเตนคาร์ไบด์ จะใช้โลหะโคบอลต์ เป็นโลหะประสาน ขั้นตอนต่อไปเป็นการอัดโลหะผง ลงในแบบที่ต้องการ ในขั้นตอนนี้ต้องทราบ จำนวนของโลหะผงที่จะใช้ และปริมาณของแบบ แล้วจึงเทโลหะผงลงไปในแบบ โดยให้มีปริมาณเกินกว่า ปริมาตรที่ต้องใช้จริงๆ เล็กน้อย แล้วใช้เครื่องไฮดรอลิก อัดโลหะผงด้วยความดันประมาณ 5-50 ตันต่อตารางนิ้ว จนโลหะผงอัดตัวกันแน่น เป็นรูปร่างตามที่ต้องการ เนื่องจากโลหะผงที่ได้นี้ ยังไม่มีความแข็งแรงมากนัก ในขั้นตอนสุดท้าย จึงต้องนำไปเผาผนึก หรือที่เรียกว่า ซินเทอร์ ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดหลอมตัว ของโลหะเล็กน้อย คือใช้อุณหภูมิประมาณ 70-80% ของอุณหภูมิหลอมเหลว ในกรณีของวัสดุทนความร้อน อาจต้องใช้อุณหภูมิประมาณ 90% ของอุณหภูมิหลอมเหลว สำหรับโลหะผสม ที่มีโลหะประสานอยู่ด้วย อาจต้องทำซินเทอร์ ที่อุณหภูมิ ใกล้จุดหลอมเหลวตัว ของโลหะประสาน เป็นเวลานานหลายชั่วโมง โดยทั่วไป มักทำในบรรยากาศ ของก๊าซเฉื่อย เช่น ไนโตรเจนหรืออาร์กอน เพราะขณะเผาออกซิเจนในอากาศ อาจทำให้โลหะกลายเป็นออกไซด์ได้ ทั้งนี้การทำซินเทอร์ จะทำให้อะตอมของโลหะ มีการเคลื่อนไหว และเกิดการเชื่อมโยง ระหว่างจุดสั
6.1 บทนำ
กรรมวิธีในการขึ้นรูปโลหะสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การหล่อ การรีด การอัด การดึง การกลึง หรือการปั๊ม วิธีการหล่อเป็นวิธีการที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะทำได้ง่าย ต้นทุนต่ำใช้ได้กับโลหะ แทบทุกชนิด การหล่อถึง แม้จะเหมาะกับชิ้นงานในทุกลักษณะรูปร่างของชิ้นงาน เช่น มีความ สลับซับซ้อน ขนาดใหญ่ ไม่ต้องทำด้วย ความปราณีตบรรจงมากนักก็ตาม แต่ชิ้นงานหล่อจะ มีข้อด้อยอยู่ที่ความเหนียว คือ จะแข็งแต่จะ เปราะแตก หักง่าย และมีจุดหลอมเหลว ต่ำ โลหะที่สำคัญหลายชนิด เช่น ทังสเตนคาร์ไบต์ โมลิบดินัม คาร์ไบต์ หรือแทนทาลัมคาร์ไบต์ ซึ่งเป็นโลหะที่แข็งมีความแข็งแรง มีจุดหลอมเหลวสูง ไม่เหมาะกับ การนำมาขึ้นรูปด้วยวิธีการ หล่อ เพราะนอกจากจะต้องใช้อุณหภูมิในการหลอมเหลวสูงแล้ว ยังจะได้ชิ้นงาน ที่เปราะ ขาด ประสิทธิภาพในการใช้งาน นักวิทยาศาสตร์หรือนักโลหะวิทยาจึงพยายามค้นคว้าพัฒนา การผลิต วัสดุจากโลหะแข็งที่มีจุดหลอมเหลวสูงมาโดยตลอด จนปัจจุบันสามารถสร้างเป็นวัสดุเพื่อการ ใช้งาน ในภาวะประสงค์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางและน่าพอใจ ซึ่งจะรู้จักกันในชื่อ
โลหะซินเตอร์ หรือ โลหะผง
โลหะซินเตอร์ ( Sintering Metals ) เป็นชื่อเรียกชิ้นงาน หรืออุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นรูปด้วย
ประวัติความเป็นมา
ร่วม 3000 ปี ก่อนคริสตศักราช ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่มีการประดิษฐ์ชิ้นงาน ด้วยวิธีโลหะ ผงทองแดง ผงเงิน ผงตะกั่ว ผงทองเหลือง และทองคำขาว โดยนำมาประดิษฐ์ขึ้นรูปเป็นเครื่อง ประดับ ตกแต่งจะนิยมกันมากขึ้นในยุโรปกลาง
ในปี ค.ศ. 1892 วูลลาสตัน ( Woolaston) ได้ตีพิมพ์บทความอธิบายถึงกรรมวิธีการ ผลิตพลาตินัมอัดแน่น ( Compact Platinum) จากผงพลาตินัม ผลงานอันนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ยกย่อง ให้เป็นผลงานชิ้นแรกของ ศาสตร์สาขาผงวิทยา และเป็นรากฐานของกรรมวิธีสมัยใหม่ ในการ ประดิษฐ์เครื่องใช้อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนด้วย ผงโลหะในยุคต่อมา
เมื่อเอดิสันคิดประดิษฐ์หลอดไฟไส้เส้นลวดขึ้น เขาจึงจำเป็นต้องหาวัสดุที่เหมาะสมมาทำไส้หลอด ผงของออส เมียม แทนทาลัม และทังสเตน ถูกนำมาทดลองอัดเข้าด้วยกัน แล้วรีดเป็นเส้นหลอด แต่ไส้หลอดที่ได้มีความ เปราะเกินไป อายุการใช้งานมาก เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตทังสเตน ให้เป็นเส้นลวดเล็กๆ อยู่นอกเหนือความ สามารถของผู้คนในยุคต้นศตวรรษที่ 20 จึงยังไม่ได้ มีผู้ใดทำสำเร็จ
จนมาถึง ค.ศ. 1909 นายคูลลิจ ได้ค้นพบว่าทังสเตนนั้นอาจรีดเป็นเส้นได้ที่อุณหภูมิช่วงหนึ่ง ซึ่งลวดที่ได้จะไม ่เปราะในอุณหภูมิห้อง กรรมวิธีการประดิษฐ์ของเขาจะเริ่มต้น ด้วยการ บดทังสเตนให้เป็นผงละเอียดแล้วอัดเข้า ไปในแบบเล็กๆ มีลักษณะเป็นแท่ง จากนั้นนำไปสะตุ ( Sinter ) ที่อุณหภูมิสูงที่ต่ำกว่าจุดหลอมเหลวเล็กน้อย แท่งอัดทังสเตนที่ได้นี้มีความเปราะที่ อุณหภูมิห้อง แต่ใช้งานได้ดีที่อุณหภูมิสูงใกล้เคียงอุณหภูมิที่ทำการสะตุ ผลของการให้เส้นลวด ทังสเตนสัมผัสกับอุณหภูมิดังกล่าวเป็นเวลานานพอ ความเหนียวของทังสเตนจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนได้ระดับค่าหนึ่ง ซึ่งแม้เมื่อเย็นลงสู่อุณหภูมิห้องแล้วก็ยังคงความเหนียวไว้ได้ จากนั้นจึงทำการ รีดลวดนี้ให้มีขนาดตามต้องการ เส้นลวดที่ได้ จะมีความต้านทานแรงดึงใช้งานประมาณ 600000 PSI สามารถนำไปใช้งานได้ดี โดยเฉพาะใช้ทำไส้หลอดไฟ
จากกรรมวิธีของคูลลิจ ส่งผลให้นักโลหะสามารถประดิษฐ์โลหะที่หล่อหลอม และขึ้นรูปได้ยาก สำเร็จอีกหลาย ชนิด โลหะดังกล่าวได้แก่ โมลิบดินัม แทนทาลัม และ โครเมียม รวมทั้งส่งผลให้ มีการพัฒนาการผลิตวัสดุที่มี ความแข็งแรงสูง เช่น พวกซีเมนต์คาร์ไบต์ และโลหะที่ประกอบ ขึ้นจากโลหะหลายชนิด ในช่วงเดียวกันนี้ ได้มีการคิดค้นประดิษฐ์แบริ่ง ชนิดทำด้วยโลหะผง มีรูพรุน มีความสามารถในการดูดซับสารหลล่อลื่นไว้ และคายออกเมื่อรับภาระจากการใช้งาน
ในยุคต้นๆ ของการผลิตด้วยกรรมวิธีโลหะผง ( Powder Metallurgy) จะทำได้เพียงชิ้นงานเล็กๆ ที่มีสมบัติ ทางกลไม่กว้างขวางมากนัก แต่ในปัจจุบันชิ้นงานจากกรรมวิธีโลหะผง หรือโลหะ ซินเตอร์ จะให้ความแข็งแรง มีสมบัติทางกลสูงขึ้น สามารถทำได้กับชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่เส้น ผ่านศูนย์กลางมากกว่า 30 เซนติเมตร หรือ น้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม ได้
การพัฒนากระบวนการการขึ้นรูปโลหะผงและผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนโลหะไทย
วิรุฬหกกลับ (46,155 views) first post: Tue 1 July 2008 last update: Tue 1 July 2008
การขึ้นรูปโลหะผงเป็นกรรมวิธีที่แตกต่างกับการขึ้นรูปโลหะในแบบอื่น การขึ้นรูปโลหะก้อนจะต้องอาศัยการ คลึง ไส เจาะ เจียร แต่การขึ้นรูปโลหะผงเหมาะสำหรับงานชิ้นเล็กๆที่ต้องการความละเอียดสูง ซึ่งในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร
 

หน้าที่ 1 - การพัฒนากระบวนการการขึ้นรูปโลหะผง
วิรุฬหกกลับ







“การพัฒนากระบวนการการขึ้นรูปโลหะผงและผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนโลหะไทย” เป็นงานวิจัยชิ้นสำคัญที่ ดร.อัญชลี มโนนุกุล นักวิจัยประจำศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ(ศ.ว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กำลังศึกษาค้นคว้าอยู่ งานวิจัยชิ้นนี้เพิ่งจะได้รับทุนสนับสนุนจากลอรีอัล ประเทศไทยเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ในสาขาวัสดุศาสตร์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 6 โดยการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และ วัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ





 

ดร.อัญชลี มโนนุกุล



                ดร.อัญชลี มโนนุกุล ได้รับทุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามความต้องการของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(ศว.) เพื่อศึกษาต่อเนื่องในระดับปริญญาตรี-โท-เอกที่ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2538 สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาวิศวกรรมการผลิต จาก University of Mancheter Institute of Science and Technology (UMIST) ได้รับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์แล้วได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด



                การขึ้นรูปโลหะมีอยู่หลายวิธีซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของชิ้นงาน ว่าควรจะเลือกใช้วิธีการไหน ดร.อัญชลี มโนนุกุลได้อธิบายถึงการขึ้นรูปโลหะแบบผงให้เราฟัง



                “ชิ้นส่วนโลหะวิธีการที่ทำให้ได้รูปร่างนี้ทำได้หลายแบบเขาจะแบ่งโดยขึ้นอยู่กับว่าตั้งต้นแล้วมันเป็นอะไร ที่ประเทศไทยคุ้นเคยกันน่าจะเป็นโลหะแผ่นหรือโลหะก้อน อย่างพวกโลหะในรถยนต์พวกนี้จะเป็นโลหะแข็งแล้วก็มาปรับให้ได้รูปร่าง หรือถ้าเป็นพวกชิ้นๆ อย่างพวกเกียร์พวกเฟือง ไม่ได้เป็นแผ่นพวกนี้จะขึ้นรูปมาจากโลหะก้อน ก็จะนำมาคลึงไสเจาะเจียร หรือว่าใช้วิธีล้ออย่างพวกล้อแม็กซ์ แต่มันจะมีวิธีการขึ้นรูปอีกแบบหนึ่งที่ไม่ใช่แบบเป็นโลหะแผ่นหรือโลหะก้อน แต่เป็นกลุ่มของการขึ้นรูปของโลหะผง

ตัวผงโลหะ ถ้าเอามาเกาะรวมกันเช่นเอามาอัดรวมกันในแม่พิมพ์แข็ง หรือมาฉีด ก็จะทำให้เราได้รูปร่างขึ้นมา นึกภาพของปราสาททรายเหมือนเราไปทะเลเราก่อปราสาททราย เราอัดทรายอัดลงไปในแบบจนแน่นก็จะเกิดเป็นรูปร่าง นี้ก็เป็นวิธีขึ้นรูปวิธีหนึ่งคือการอัดเข้าแบบ พออัดเสร็จแล้วนี้ ทำยังไงจะให้มันแข็งแรงก็คือต้องนำไปเผาที่อุณหภูมิที่สูงมากวิธีการขึ้นรูปโลหะแบบผงนี้ มันจะทำได้ทั้งโลหะและเซรามิค หรืออย่างการปั้นหม้อนี้ก็เป็นการขึ้นรูปเหมือนกันเป็นการขึ้นรูปแบบโดยการใช้มือเปล่า พอได้รูปร่างปุ๊ปเขาจะนำไปเผาเพื่อให้ผงมันเชื่อมกัน คือมันจะต่างกันที่ตัวตั้งต้นของวัสดุมันจะเริ่มจากผง พอมันเป็นผงแล้วสามารถขึ้นรูปได้หลายวิธี วิธีที่ประเทศไทยคุ้นเคยคือการอัดขึ้นรูปในแม่พิมพ์แข็ง

การขึ้นรูปแบบอัดจะมีข้อจำกัดในเรื่องความซับซ้อนของชิ้นงาน คือจะมีเอวไม่ได้เพราะมันจะเอาออกจากแม่พิมพ์อัดไม่ได้ ดังนั้นรูปร่างจะไม่ซับซ้อนมาก คือตัวที่ Labเราทำนี้เราเน้นการขึ้นรูปที่ไม่ใช่วิธีอัดก็คือการขึ้นรูปแบบเช่นการขึ้นรูปแบบวิธีการฉีดขึ้นรูปโลหะผง วิธีการฉีดเราไม่ได้เป็นคนคิด แต่คิดมาจากต่างประเทศคืออเมริกา แล้วมาขยายที่ยุโรปแล้วก็ประเทศญี่ปุ่น ”






ดร.อัญชลี มโนนุกุลขณะทำการวิจัย 



สำหรับจุดเริ่มของงานวิจัย“การพัฒนากระบวนการการขึ้นรูปโลหะผงและผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนโลหะไทย” เริ่มจากการที่ได้รับทุนวิจัยจาก New Energy and Industrial Technology Development Organization (NEDO) จากประเทศญี่ปุ่นในการตั้งห้องปฎิบัติการเฉพาะทางของการฉีดขึ้นรูปโลหะผง ซึ่งเหมาะสำหรับงานขึ้นรูปที่ต้องการผลิตชิ้นส่วนโลหะที่มีขนาดเล็กและต้องการรายละเอียดของงานมาก





 “เมื่อปี 47 เราได้ ทุนวิจัยมาจากองค์กรเนโด (New Energy and Industrial Technology Development Organization (NEDO)) จากประเทศญี่ปุ่นองค์กรนี้เป็นองค์กรของรัฐบาลญี่ปุ่นซึ่งเขาถ่ายทอด เทคโนโลยี MIM (Metal Injection Molding)ให้เรา แล้วให้อุปกรณ์ทั้งหมดมาด้วยเขาสอนให้เรา รู้พื้นฐานของการขึ้นรูปผงเหล็ก เหล็กกล้า หรือว่าสแตนเลส หลังจากนั้นก็อยู่ที่ว่าเราจะทำยังไงต่อ”



จากองค์ความรู้ที่ได้รับมาประกอบกับได้ทำการตกลงกับบริษัทแคสเต็ม(ประเทศไทย)จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนญี่ปุ่นที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย ซึ่งผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนโลหะด้วยวิธีฉีดขึ้นรูปโลหะผงอยู่แล้ว แต่ยังประสบปัญหาทางด้านการผลิตอยู่ดังนั้นจึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทแคสเต็ม(ประเทศไทย)จำกัด และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(ศว.) เพื่อร่วมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการฉีดขึ้นรูปผงไททาเนียมบริสุทธิ์และไททาเนียมผสม Ti-6A1-4V

“ต้องเล่าก่อนว่าเทคโนโลยีนี้จัดว่าใหม่มากสำหรับประเทศไทย คือเราไม่ได้เป็นคนคิดเทคโนโลยีนี้ เรารับมาเลยจากญี่ปุ่น ในประเทศไทยมีการผลิตแบบผงประมาณ 10 กว่าบริษัท แต่คือใช้แบบอัดหมดเลย แต่ใช้วิธีฉีดนี้มีแค่บริษัทเดียว เป็นโรงงานของญี่ปุ่น ตอนที่เราได้ Lab มาตั้งมีคำถามตามมาว่าเราจะทำไรกับมันส่วนแรกเลยก็คือเราก็คุยกับบริษัทแคสเต็มไทยแลนด์ เราก็คุยกับบริษัทว่าสนใจให้เราวิจัยให้ไหม เขามีอะไรให้เราช่วยวิจัยไหม ซึ่งปรากฏว่าปัจจุบันเขาผลิตแล้วขายได้จริง แต่กลุ่มตลาดของเขาอยู่ในกลุ่มเหล็ก เขายังทำไททาเนียมไม่ได้ เราก็เลยบอกว่าให้ลองทำไททาเนียมให้ไหมเริ่มจากไททาเนียมบริสุทธิ์ก่อนก็ได้ คือเรามีโครงการกับบริษัทนี้มาสองโครงการแล้วกำลังจะมีโครงการที่ 3  Lab เราจะไม่เหมือนที่อื่น เราจะทำงานที่จ้างโดยบริษัท แล้วแต่ใครอยากได้อะไรก็จะทำให้







บริษัทนี้จ้างเราทำไททาเนียม เขาเคยจ้างมหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นทำวิธีวิจัยแบบ MIM ไททาเนียมแล้วแต่ว่าเขาทำเสร็จ ไม่สามารถถ่ายทอดให้บริษัทและผลิตจริงเพื่อนำออกมาขายได้ เพราะว่าคุณสมบัติเชิงกลไม่ดีเท่าทีควร เขามาจ้างเราใหม่มาทำวิจัยให้เขา 

เราทำทั้งไททาเนียมบริสุทธิ์และไททาเนียมผสม แล้วถ่ายทอดเทคนิควิธีการผลิตให้แก่เขา คือเราจะทำการทดลองตามปรกติ เปลี่ยนตัวแปรต่างๆ จนสามารถหาว่าทำแบบนี้ดีที่สุดมีคุณสมบัติเชิงกลดีที่สุด เอาล่ะคุณไปทำตามเราแล้วกัน ”



จากโครงการดังกล่าวทำให้ปัจจุบันบริษัทแคสเต็ม(ประเทศไทย)จำกัดกลายเป็นโรงงานแห่งที่สองในเอเชียที่สามารถผลิตชิ้นงานไททาเนียมบริสุทธิ์และไททาเนียมผสมด้วยวิธีการฉีดขึ้นรูปผงโลหะที่สามารถผลิตออกมาขายในเชิงพาณิชย์ได้โดยบริษัทบริษัทแคสเต็ม(ประเทศไทย)คาดการณ์ว่าจะสามารถทำกำไรได้ปีละประมาณ 200 ล้านบาทเลยทีเดียว







“ไททาเนียมนี้ไม่ใช่ไม่มีคนทำได้ มีคนทำได้แต่จำนวนไม่มากนัก ในการขายเชิงพาณิชย์ มีแค่ประมาณ 10-20 บริษัททั่วทั้งโลก ในเอเชียมีแค่บริษัทไซโก-แอปสัน คือเขารวมกันเป็นบริษัทเดียวกัน บริษัทนี้เป็นบริษัทเดียวที่ทำ MIM ไททาเนียมได้และหลังจากที่เราถ่ายทอดความรู้ให้บริษัทแคสเต็ม(ประเทศไทย)จำกัดไปแล้ว เขาเป็นบริษัทที่สองในเอเชียที่ทำได้ อันนี้จดสิทธิบัตรไม่ได้เพราะเคยมีคนทำมาแล้วแต่ทุกคนเก็บเป็นความลับทางการค้า



อย่างเครื่องดื่มโค้กนี้ไม่จดสิทธิบัตรเพราะถ้าจดจะต้องเปิดเผยว่ามีอะไรบ้างเขาเลยเลือกที่จะเก็บไว้เป็นความลับ ทำให้คนสามารถผลิตแป๊ปซี่ ผลิตโค้กเทสโก้ออกมาได้แต่ว่าไม่สามารถทำให้เหมือนโค้กจริงได้ มันก็จะเป็นแนวนั้น  ตอนนี้ไททาเนียมก็มีคนทำได้จำนวนหนึ่ง แต่ที่เราทำนี้ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ดี อย่างที่ญี่ปุ่นที่เราทำให้เขาก็ยังสนใจนะว่าทำไมเราถึงทำได้ดีขนาดนี้”



สำหรับเทคโนโลยีต่างๆที่คิดค้นขึ้น ดร.อัญชลี มโนนุกุล ยืนยันว่าคนไทยมีสิทธิได้ใช้แต่ต้องขึ้นอยู่กับคู่สัญญาว่าตกลงกันไว้อย่างไร ส่วนหนึ่งงานวิจัยต่างๆที่เกิดขึ้นต่างคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและคุณภาพชีวิตของคนไทยเป็นหลัก





 

ตัวอย่างชิ้นงานที่ได้จากการผลิต 



“คือมันอยู่ที่สัญญา อย่างโครงการผลิตไททาเนียมด้วยวิธี MIM  เป็นสัญญาระหว่าง สวทช. เอ็มเทค กับ บริษัทเอกชน แต่ละสัญญาไม่เหมือนกันแต่อย่างกับบริษัทไททาเนียมกลุ่มนี้นี้มีการคุยกันแล้วตอนเซ็นสัญญาว่า เทคโนโลยีจะเป็นประโยชน์กับบริษัทในประเทศไทยด้วย



มีความพยามของสำนักงานของผู้วิจัยเองและสำนักงานที่เอ็มเทคนี้อยากจะให้ถ่ายทอดให้บริษัทอื่นในประเทศไทยได้ด้วย ในที่สุดก็ตกลงกันว่า เราจะเก็บความลับให้เขา 5 ปีโดยที่ไม่ถ่ายทอดให้ใครเลย เขามีเวลาเดินก่อน 5 ปี ในที่สุดเราควรจะถ่ายทอดให้ใครได้ด้วยเพราะจะทำให้มีโรงงาน MIM มากกว่า 1 โรงงานในไทย  อย่างบริษัทใหญ่ๆเวลาสั่งของก็อยากสั่งที่เดียว บางทีบริษัทเดียวไม่สามารถรับออเดอร์ได้ทั้งหมดมันก็ต้องมารวมกันอยู่ดี



บริษัทนี้เขาก็โอเค ถ้ามองกันจริงบริษัทไทยตอนนี้ยังไม่มีโรงงานเลยนะ คือถ้าหากบริษัทไทยตั้งโรงงานขึ้นมาก็ไปผลิตสแตนเลสก่อนแล้วค่อยมาเริ่มไททาเนียมคือมันต้องใช้เวลาอีกนานเขาเองก็ได้ใช้ประโยชนืจากงานวิจัยนี้อีกนาน แต่ถ้าถามว่าเรามีสิทธิในการถ่ายทอดไม่ ก็มีแต่ต้องหลังหมดสัญญา





 คู่สัญญาพวกนี้ที่สวทช.ก็จะมีฝ่ายนิติกรดูแลอยู่  เป้าหมายของสวทช ตั้งขึ้นมาเพื่อทำประโยชน์ให้อุตสาหกรรมและประชาชนไทยจริง เพราะฉะนั้นหลายๆอย่าง ที่เราทำนี้เราก็ต้องมองพื้นฐานของประชาชน เป็นหลัก 

แรกๆที่ตั้งนี้สวทช ใช้งบประมาณของรัฐบาลไทยเท่านั้นซึ่งก็มีคนมองว่าเป็นหน่วยงานที่ใช้งบประมาณค่อนข้างเยอะ คือเป็นกรมที่ใหญ่ในกระทรวงวิทย์ฯและเป็นหน่วยงานที่ค่อนข้างจะใช้งบประมาณของกระทรวงวิทย์เยอะมาก 

นโยบายของสวทช.ก็ต้องการให้เรามีรายได้ของเราเอง  อย่างของเมืองนอกที่ศูนย์วิจัยแห่งชาติมีคนมาออกเงินให้ช่วยวิจัย แล้วรัฐบาลจะลงน้อยลงเรื่อยๆ ยกเว้น อย่างพวกที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญจริงๆอย่างพวกพลังงานทางเลือกรัฐบาลก็คงต้องลงแต่ถ้าเป็นอย่างอื่นก็จะมีหน่วยงานอื่นมาสนับสนุนมันก็ดี อย่างถ้ามีบริษัทมาลงก็แสดงว่าเขารอรับเทคโนโลยีไปใช้มันก็ดีด้วยกันทุกฝ่าย ก่อนจะเซ็นสัญญาก็มีการคุยกันก่อนบางสัญญาที่เราทำให้ก็จะมีว่าเราจะไม่ทำให้กับคู่แข่งของเขา เช่น สมมติว่าเขาทำนาฬิกาเราจะไม่ทำให้กับบริษัทนาฬิกาแต่ว่าถ้าเป็นบริษัทอื่นที่ไม่ใช่คู่แข่งโดยตรงของเขานี้ ก็ควรจะอนุญาตให้เราทำ”







ดร.อัญชลี มโนนุกุล ยอมรับว่าการได้รวมงานกับ  บริษัทชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นเป็นเรื่องดีทั้งในส่วนขององค์ความรู้ที่เกิดขึ้นและเป็นแหล่งอ้างอิงที่ดีในการสร้างงานชิ้นต่อไป  ปัจจุบันมีบริษัทสัญชาติไทยก็ต้องการให้พัฒนาอุปกรณ์ปลูกฝังที่ใช้ในทางการแพทย์ หากสามารถดำเนินการจนเป็นสำเร็จดร.อัญชลี มโนนุกุลเชื่อว่าจะมีผลทั้งในแง่ของคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยที่ดีขึ้นและผลดีในเชิงพาณิชย์ซึ่งสามารถนำไปทำเป็นสินค้าส่งออกได้ด้วย





 

ชุดโลหะด้ามกระดูกสันหลัง 



“การทำพวกโปรเจคกับบริษัทเอกชนมักจะใช้เวลาสั้นๆแต่ต้องนำไปใช้งานได้จริง รอบแรกที่ทำให้เขานี้ก็มีปัญหาเยอะ เพราะความสนใจในรายละเอียดเขาน้อยกว่าเรา  มันจะมีปัญหาการปนเปือนตามมา พอเขาผลิตเสร็จก็เอากลับมาให้เราดู คุณสมบัติเชิงกล มันก็ไม่ได้

เราก็ต้องแก้ปัญหาให้เขา ทำแบบในที่เคยทำไม่งั้นมันจะผลิตจริงไม่ได้ คือปัญหาของเขาคือผลิตออกมาแล้วมันจะเปราะ โลหะมันต้องเหนียวแข็งแรง ถ้ามีออกซิเจนเยอะมากๆมันก็จะเปราะนำออกขายจริงไม่ได้





นั้นเป็นโครงการชุดแรกของเราถือเป็นรากฐานที่ดีเพราะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้เรา ในปัจจุบันนี้เราทำวัสดุปลูกฝังทางการแพทย์ซึ่งประเทศจะนำเข้าเยอะมาก หากมีการผลิตขึ้นก็จะเป็นการชื้อวัตถุดิบเข้ามาแล้วผลิตในไทย แล้วมาคลึงไสเจาะเจียร การผลิตแบบนี่จะมีเศษเหลือทิ้งเยอะมาก สำหรับเทคนิคที่เราใช้เป็นการผลิตใกล้รูปร่างจริงเพราะฉะนั้นจะมีเศษเหลือทิ้งน้อยกว่าเยอะมาก

ปัจจุบันเรารวมมือกับบริษัท PPMC จำกัด  บริษัทเขาจะเป็นลักษณะนำเข้าอุปกรณ์ปลูกฝังทางการแพทย์ แต่เป็นบริษัทไทยไม่มีทุนเยอะมากอย่างบริษัทญี่ปุ่นก็เลยไปขอทุนมาจากสถาบันไทย-เยอรมันด้วย สถาบันไทย-เยอรมันเป็นสถาบันหน่วยงานที่ได้รับเงินจากกระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ ตอนนี้ก็ทำต้นแบบได้จำนวนหนึ่งแล้ว เรารับรองเรื่องคุณสมบัติเชิงกลที่ดี ตอนนี้บริษัทกำลังเขาไปทดสอบความบกพร่องทางด้านการแพทย์  การขึ้นรูปอย่างเดียวมันไม่พอ มันต้องมีคุณสมบัติทางด้านการแพทย์ด้วย







ดังนั้นโครงการนี้อาจจะต้องอาศัยเวลาอีกระยะ บริษัทนี้เขาก็อยากจะทำมาเพื่อขายในประเทศไทย เพื่อให้ต้นทุนมันต่ำลง คนไทยก็จะได้ชื้อถูกลง อย่างสวัสดิการของข้าราชการไทยก็จะมีระบุเลยว่าหากใช้อุปกรณ์พวกนี้ถ้าเป็นไททาเนียมคุณก็จะเบิกไม่ได้ เพราะราคามันสูง แต่ถ้าหากทำสำเร็จราคามันก็จะต่ำลง

องค์กรอย่างสวทช.นี้เราต้องการทำเพื่ออุตสาหกรรมไทยและเพื่อประชาชนไทย เราหวังว่าในที่สุดแล้ว คือถ้าทุกอย่างมันผ่านมันแล้วเขาผลิตออกมาได้มันจะทำให้สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยได้ คือส่วนนี้เป็นส่วนเพื่อสังคม มันยกระดับการผลิตได้ด้วย หากเขาทำได้ดีจริงก็จะสามารถส่งออกได้ด้วย ”



 

ดร.อัญชลี มโนนุกุล 



นอกจากการเป็นนักวิจัยเต็มเวลาอยู่ที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติแล้ว ดร.อัญชลี มโนนุกุล ยังใช้เวลาว่างในการสอนหนังสือโดยรับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกับอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในเรื่องการออกแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นสาขาที่ดร.อัญชลี มโนนุกุลเรียนจบมาโดยตรง แล้วยังเป็นอาจารย์พิเศษของปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์หลักสูตรนานาชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยธรรมสาสตร์



ปัจจุบันดร.อัญชลี มโนนุกุล มีความสุขในฐานะนักวิจัยเต็มเวลา โดยที่มุ่งหวังจะพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับวงการอุตสาหกรรมโลหะไทยและนี้คืองานวิจัยชิ้นสำคัญที่เกิดขึ้นในวงการศึกษาของไทยที่เกิดจากความสามารถของนักวิจัยไทย ซึ่งมีศักยภาพมากพอในการสร้างและยกระดับอุตสาหกรรมโลหะไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้

มผัสของเม็ดโลหะ ซึ่งเป็นผลจาก การแพร่ของอะตอม ในสภาพของแข็งทำให้โลหะเมื่อผ่านการเผา มีความแข็งแรงมากขึ้น และสามารถนำไปใช้งานได้ ตามลักษณะของโลหะนั้นๆ
    การขึ้นรูปด้วยกระบวนการโลหะผง มีจุดเด่นที่สำคัญคือ ชิ้นงานที่ได้มีความแข็งสูง เนื่องจากโครงสร้าง มีความสม่ำเสมอ และมีขนาดเกรนเล็กละเอียด นอกจากนั้นชิ้นงานยังมีรูปร่างที่แม่นยำ และไม่มีโพรงอากาศ เมื่อเทียบกับงานหล่อ สามารถนำไปใช้ ในการผลิตชิ้นส่วนรูปทรงซับซ้อน เช่น ชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องยนต์ ได้ จึงนับเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าจับตามอง